Ratchasuda Blog มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับบุคลากรในการ เผยแพร่ แลกเปลี่ยน องค์ความรู้ด้านคนพิการ รวมถึงด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานภายในวิทยาลัย โดยหวังให้องค์ความรู้เหล่านี้ได้รับการรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร สะดวกต่อการสืบค้น เรียนรู้ อีกทั้งช่วยให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้า สร้างประโยชน์ให้งานด้านคนพิการในประเทศไทย

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สื่อมัลติมีเดียประกอบเสียง พรบ.เพื่อคนพิการ ตอนที่ 1

สื่อมัลติมีเดียประกอบเสียง
เรื่อง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


คำบรรยาย 

สวัสดีค่ะ ท่านกำลังอยู่กับเราในช่อง RS Channel วันนี้ เราจะมาเล่าให้ทุกท่านทราบถึงพระราชบัญญัติที่มีความสำคัญกับคนพิการอย่างมากค่ะ นั่นก็คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พระราชบัญญัติฉบับนี้ ประกาศใช้ในปี 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2556 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากกับคนพิการไทยเลยค่ะ โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการจ้างงานคนพิการ ซึ่งก็คือ มาตรา 33 34 และ 35 แต่วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ มาตรา 33 กันก่อนนะคะ มาตรา 33 ระบุว่า ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงาน ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ จะต้องรับคนพิการเข้าทำงานค่ะ โดยในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการออกกฎกระทรวง กําหนดจํานวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ จะต้องรับเข้าทํางาน และจํานวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ จะต้องนําส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกำหนดว่า ให้นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทํางานได้ ไม่ว่าจะอยู่ในตําแหน่งใด ในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคน ต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคนค่ะ เช่น ถ้าบริษัท A มีพนักงานทั้งหมด 500 คน บริษัท A จะต้องจ้างพนักงานที่เป็นคนพิการประเภทต่างๆ อย่างน้อย 5 คน หรือบริษัท B มีพนักงาน 560 คน จะต้องจ้างพนักงานที่เป็นคนพิการอย่างน้อย 6 คนค่ะ พระราชบัญญัติมาตรานี้ เปิดโอกาสให้คนพิการ สามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนพิการต้องการอย่างมากค่ะ แต่บางท่านอาจสงสัยว่า ถ้านายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ยังไม่พร้อมจะรับคนพิการเข้าทำงาน จะมีแนวทางปฏิบัติอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ ในพระราชบัญญัติก็ได้กำหนดไว้ในมาตรา 34 และ 35 ซึ่งจะเล่าต่อในตอนต่อไปนะคะ และหากสนใจเนื้อหาอื่นๆ เพิ่มเติม กดติดตามช่อง RS Channel ของเราด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ   


วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การบันทึกไฟล์นำเสนอ (Power Point) ให้เป็นภาพ

1. เลือกเมนู File และเลือก Save As


2. ที่เมนู Save As Type ในหน้าต่าง Save As คลิกเลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการบันทึก


3. กำหนดชื่อไฟล์ คลิกปุ่ม Save



4. คลิกปุ่ม Every Slide เพื่อบันทึกไฟล์นำเสนอให้เป็นภาพทุกหน้า หรือคลิกป่ม Current Slide Only เพื่อบันทึกเฉพาะหน้าที่เลือก



5. จะปรากฎหน้าต่างที่อยู่ของโฟลเดอร์ไฟล์นำเสนอที่บันทึกเป็นไฟล์ภาพ


6. นำภาพไปใช้งานตามที่ต้องการ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การติดตั้งไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ (Add Printer) เพื่อพิมพ์งานผ่านระบบเครือข่าย

เวลาใช้คอมพิวเตอร์ ท่านมีความต้องการเหล่านี้หรือไม่
• ต้องการพิมพ์ (Print) ผ่านเครื่องพิมพ์ของเพื่อนร่วมงานในห้องทำงานเดียวกัน หรือเครื่องพิมพ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายของวิทยาลัยราชสุดา
• เดิมเคยพิมพ์งานกับเครื่องพิมพ์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายได้ แต่จู่ๆ ก็ไม่สามารถพิมพ์ได้
• เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการฟอร์แมต จึงทำให้ไม่สามารถพิมพ์งานผ่านระบบเครือข่ายได้

ท่านสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น โดยการติดตั้งไดรเวอร์เครื่องพิพม์ (Add Printer) ผ่านระบบเครือข่าย โดยติดตั้งใหม่ในกรณีที่ไม่เคยติดตั้งมาก่อน หรือติดตั้งอีกครั้ง กรณีเคยติดตั้งแล้วแต่เกิดใช้งานไม่ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม: การที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะพิมพ์งานโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเครือข่ายได้ ผู้ใช้จะต้องติดตั้งไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์เครื่องนั้นๆ ที่ share อยู่ในระบบเครือข่ายก่อน จึงจะพิมพ์งานได้

ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องพิมพ์ผ่านระบบเครือข่าย สามารถดำเนินการได้ 2 ช่องทาง คือ
1. การติดตั้งเครื่องพิมพ์โดยใช้หมายเลข IP Address [ต้องทราบหมายเลขไอพี (IP Address)ของคอมพิวเตอร์ที่เครื่องพิมพ์นั้นๆ ติดตั้งอยู่]
2. การติดตั้งเครื่องพิมพ์โดยใช้เมนูคำสั่ง Add a Printer [ต้องทราบ Work Group ชื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Name) และรุ่นของของเครื่องพิมพ์]

วิธีที่ 1: การติดตั้งเครื่องพิมพ์โดยใช้หมายเลข IP Address

กรณีทราบหมายเลข IP Address

1. ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ (Desktop) ดับเบิ้ลคลิกเพื่อเปิด My Computer


2. ช่อง Address พิมพ์ Back Slash 2 ครั้ง (\\) แล้วตามด้วยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เครื่องพิมพ์ติดตั้งอยู่ ตัวอย่างเช่น \\10.15.1.96 แล้วกดปุ่ม Enter


3. ที่หน้าต่าง IP Address จะพบไอคอน (Icon) ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ โดยจะต้องเป็นไอคอนที่มีชื่อรุ่นของเครื่องพิมพ์ที่ต้องการ ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนดังกล่าว


4. หน้าต่างไดรเวอร์ จะปรากฏขึ้น ถือว่าการติดตั้งไดรเวอร์เสร็จสมบูรณ์ คลิกปิดหน้าต่างดังกล่าว


5. ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ (Desktop) คลิกเมนู Start  Setting และเลือกเมนู Printers and Faxes


6. มองหาไอคอนไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งก่อนหน้านี้ สังเกตชื่อรุ่นของเครื่องพิมพ์และหมายเลข
IP Address ตัวอย่างเช่น hp LaserJet 1010 Series Driver on 10.15.1.96 ให้คลิกขวาที่ไอคอนดังกล่าว และเลือกเมนู Set As Default Printer


7. จากนั้น จะพบเครื่องหมายถูก บริเวณไอคอน (ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดให้เครื่องพิมพ์ดังกล่าวเป็นเครื่องแรกที่รับคำสั่งการพิมพ์งาน)
8. เริ่มต้นการสั่งพิมพ์งานตามที่ต้องการ

กรณีไม่ทราบหมายเลข IP Address

1. ก่อนอื่น เราต้องค้นหาหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องพิมพ์ที่ต้องการสั่งพิมพ์งานก่อน โดยไปที่เครื่องนั้นๆ คลิกเมนู Start เลือกเมนู Run


2. ที่หน้าต่างเมนู Run พิมพ์ตัวอักษร cmd ในช่อง Open และคลิกปุ่ม OK


3. ที่หน้าจอ DOS (พื้นดำ) พิมพ์ตัวอักษร ipconfig แล้วกดปุ่ม Enter


4. หมายเลข IP Address จะปรากฏขึ้นดังภาพ จดบันทึกหมายเลขดังกล่าว และดำเนินการต่อตามขั้นตอนข้างต้น (กลับไปที่คอมพิวเตอร์ของตนเอง)




วิธีที่ 2: การติดตั้งเครื่องพิมพ์โดยใช้เมนูคำสั่ง Add a Printer

1. ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ (Desktop) คลิกเมนู Start และเลือกเมนู Printers and Faxes


2. คลิกเลือกเมนู Add a printer ด้านซ้ายมือ


3. คลิกเลือก A Network printer, or a printer attached to another computer


4. คลิกเลือก Browse for a printer


5. ดับเบิ้ลคลิกชื่อ Work group และเลือกไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ และคลิกปุ่ม Next


6. คลิก Yes เพื่อกำหนดให้เครื่องพิมพ์ดังกล่าวเป็นเครื่องแรกที่รับคำสั่งการพิมพ์งาน


7. คลิกปุ่ม Finish


8. เริ่มต้นการสั่งพิมพ์งานตามที่ต้องการ


จัดทำโดย
งานโสตทัศนูปกรณ์และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (AVIT)
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรับปรุง 10 มิถุนายน 2553

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการ Import ไฟล์วีดิทัศน์ในโปรแกรม Power Point

1. เปิดไฟล์ Power Point คลิกที่เมนู Insert เลือกเมนู Movie และเมนูย่อย Movie from file



2. คลิกเลือกไฟล์วีดิทัศน์ที่ต้องการ Import และกดปุ่ม OK


3. เลือกว่าต้องการให้เล่นไฟล์วีดิทัศน์อัตโนมัติ หรือเล่นเมื่อคลิกเลือก



4. ขยายภาพวีดิทัศน์ตามความต้องการ คลิก Save เพื่อพร้อมใช้งาน


5. ไฟล์วีดิทัศน์จะใช้งานได้ต่อเมื่อ Power Point อยู่ในโหมดการนำเสนอ

ข้อควรระวัง
เมื่อทำการ Import ไฟล์วีดิทัศน์แล้ว ไม่ควรย้ายไฟล์วีดิทัศน์ต้นฉบับไปจากที่เดิม เนื่องจากอาจจะทำให้โปรแกรม Power Point ไม่สามารถ Link หาไฟล์ที่ Import ไว้พบ เนื่องจากเปลี่ยนที่อยู่ไฟล์


จัดทำโดย
งานโสตทัศนูปกรณ์และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (AVIT)
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรับปรุง 18 มิถุนายน 2553

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของภาพ

เมื่อเราคิดจะถ่ายภาพใดๆ ก็ตามเราจะต้องคำนึงถึงเสียก่อนว่า เราจะกำหนดรูปแบบภาพให้ออกมาในลักษณะใด ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราจะต้องกำหนดว่าจะจัดวางภาพในลักษณะแนวนอน (Landscape) หรือ แนวตั้ง (Portrait) ดีนั่นเอง โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ให้เราพิจารณาและกำหนดเอาจาก รูปทรงของวัตถุที่ต้องต้องการจะถ่าย (Object) นั้นๆ เป็นสำคัญ

ภาพแนวนอน (Landscape) ภาพในแนวนอนจะให้ความรู้สึกในการมองที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ทั้งนี้เพราะเป็นทัศนวิสัยในการมองแบบปกติของคนนั่นเอง ในสภาวะของคนปกติจะคุ้นเคยกับภาพแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง และกล้องถ่ายภาพแบบปกติทั่วๆไปนั้น ก็ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกในการบันทึกภาพในแนวนอนเช่นกัน ให้สังเกตว่าตัวเราเองออกจะรู้สึก ว่าจะมีกอาการฝืน ๆ อยู่บ้างเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนมาบันทึกภาพในลักษณะที่เป็นแนวตั้ง โดยภาวะปกติในการมองภาพ ของคนทั่วๆ ไปนั้น จะมองในลักษณะจากซ้ายไปขวา หรือ จากขวาไปซ้าย นั่นคือ อันเป็นลักษณะการไล่สายตาในรูปแบบแนวนอน การถ่ายภาพแนวนอน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการจัดวางกรอบภาพในแนวนอนนี้ก็ยังเหมาะสมกับการถ่ายภาพที่ต้องการแสดงถึงการเคลื่อนไหว หรือ เคลื่อนที่ผ่านหน้าเข้าหรือออกของวัตถุ

ภาพแนวตั้ง (Portrait) จะให้ความรู้สึกในการมองโดยการเริ่มต้นจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง หรือ จากด้านล่างขึ้นไปสู่ด้านก็ได้ (ทั้งสองทาง) ลักษณะการวางภาพในแนวตั้งนี้ เพื่อที่จะต้องการเน้นจุดสำคัญของภาพให้มีความโดดเด่นยิ่งขึ้น หรือ ต้องการเน้นความสูงใหญ่ มั่นคง อลังการ ฯลฯ ดังเช่น สิ่งปลูกสร้าง งานสถาปัตยกรรม และ/หรือ ภาพบุคคล เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ง...เป็นการสร้างความรู้สึกถึงความห่างไกล หรือถูกแยกออกจากกันของวัตถุในภาพมากกว่าภาพทางแนวนอน

ผู้เขียน: คุณสุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์ วิทยาลัยราชสุดา

แหล่งข้อมูล
1. Thailand Largest Photo Magazine
2. ShutterPhoto.com

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อะไรคือ CCD และ CMOS ของกล้องดิจิทัล

จากบทความในฉบับแรกในการเลือกซื้อกล้องดิจิตอลนั้นในกล้องทุกตัวนั้นแน่นอนหัวใจสำคัญที่สุดอันหนึ่งที่จะทำให้กล้องตัวนั้นถ่ายทอดรูปออกมาได้สวยก็คงหนีไม่พ้น Sensor ในการรับภาพ ซึ่งมีหน้าที่รับแสงที่เข้ามาแล้วเปลี่ยนค่าแสงนั้นๆเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบันมี Sensor รับภาพอยู่เพียง 2 แบบใหญ่ๆเท่านั้น ซึ่งก็คือ CCD (Charge Coupled Device) และ CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) ที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญในท้องตลาด

CCD Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซล จะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที ส่วน CMOS เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็นสัญญาณดิจิตอลในทันที ไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD สรุปง่ายๆคือ CMOS จะมีวงจรแปลงสัญญาณแสงในแต่ละพิกเซลเลย ส่วน CCD ตัวรับแสงจะรับแสงอย่างเดียว และจะส่งค่าที่ได้ออกมาให้วงจรที่มีหน้าที่แปลงสัญญาณอีกที

ด้านความเร็วในการการตอบสนองในแง่นี้ CMOS จะดีกว่า เนื่องจากตัว CMOS จะแปลงสัญญาณเสร็จในตัวเอง ไม่ต้องส่งข้อมูลไปยังวงจรอื่นอีก

คุณภาพการรับแสง Dynamic Range ในที่นี้ CCD ได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากตัวรับแสงของ CCD มีแต่ส่วนรับแสงเพียงอย่างเดียว ต่างกับ CMOS ที่ต้องมีวงจรแปลงสัญญาณในแต่ละพิกเซลด้วย ดังนั้นถ้าในขนาดที่เท่ากัน ส่วนรับแสงของ CCD จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า เนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่ไปให้วงจรอื่นๆ เหมือน CMOS

ความละเอียด CCD ก็ได้เปรียบเนื่องจากเหตุผลเดียวกันกับ Dynamic Range ส่วนการใช้พลังงาน CMOS มีประสิทธิภาพดีกว่าเนื่องจากสามารถรวมวงจรต่างๆไว้ในตัวได้เลย ต่างจาก CCD ที่ต้องมีวงจรแปลงค่าเพิ่มขึ้นมา

ดังนั้นผู้เขียนพอจะสรุปได้คร่าวๆ จากประสบการณ์ว่าในแง่ของการทำงาน ด้านความเร็ว และการใช้พลังงาน CMOS ได้เปรียบ ส่วนในแง่คุณภาพของภาพ CCD จะได้เปรียบ เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ช่องว่างข้อได้เปรียบของ Sensor ทั้ง 2 แบบ ถูกลดต่ำลง โดยหากจะย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 2-5 ปีที่ผ่านมา ตอนนั้นทุกคนก็คงคิดว่า CCD จะเอาชนะ CMOS ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพ และความละเอียดที่พัฒนาได้ง่ายกว่าแต่สิ่งที่ CMOS มีแล้วเป็นจุดสำคัญที่สุดก็คือในเรื่องของ 'ต้นทุนที่ต่ำกว่า' เนื่องจากสามารถรวมทุกอย่างไว้ในวงจรเดียวได้เลย

ผู้เขียน: คุณสุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์ วิทยาลัยราชสุดา

แหล่งข้อมูล
1.คู่มือกล้อง ดิจิตอล SLR ภาษาไทยฉบับสมบูรณ์ โดย ประสิทธิ์ จันเสรีกร บรรณาธิการนิตยสาร ชัตเตอร์ โฟโต้กราฟฟี่
2. แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จก.
3. 20 Year Thailand Largest Photo Magazine April 2009 No.9 Vol.19
4. ShutterPhoto.com